นายสุรยุทธ ทวีกุลวัฒน์ ผู้อำนวยการใหญ่สายการเงิน บมจ.บีทีเอส กร犀利士 ุ๊ป โฮลดิ้ง แถลงผลประกอบการไตรมาส 2 และครึ่งปีแรกของปีงบประมาณ 2562/2563 ว่า ไตรมาส 2 (ก.ย.-พ.ย. 2562) มีรายได้รวม 11,359 ล้านบาท ลดลงจากไตรมาส 2 (ก.ย.-พ.ย. 2561) ปีที่แล้วที่มีรายได้รวม 15,818 ล้านบาท 28% ข่าว “ป้าทุบรถ” ที่โด่งดังในโลกโซเชียลเมื่ออาทิตย์ที่ผ่านมา ยังคงเป็นประเด็นร้อนให้พูดถึงกันอยู่จนวันนี้ ล่าสุดมีบางคนหลงประเด็นไปถึงเรื่องป้ายที่ติดหน้าบ้านของหญิงเจ้าทุกข์ที่ถูกรถจอดขวางหน้าบ้าน ว่าอาจเป็นป้ายที่หลีกเลี่ยงจ่ายภาษีป้ายหรือไม่? ซึ่งต่อมาทางเจ้าทุกข์ก็ได้อธิบายว่าป้ายหน้าบ้านของตนนั้นไม่เข้าข่ายเสียภาษีป้าย นี่เองทำให้หลายคนเกิดข้อข้องใจว่าแล้วป้ายชนิดใดจึงเข้าข่ายต้องเสียบ้าง? วันนี้แอดมินจะขอมาอธิบายเกี่ยวกับภาษีป้ายให้เข้าใจกระจ่างชัดกันเองป้ายอย่างใดจึงเข้าข่ายเสียต้องภาษี? กฎหมายกำหนดให้ป้ายที่ต้องเสียภาษี ประกอบด้วยป้ายแสดงชื่อ ยี่ห้อ หรือเครื่องหมายที่ใช้ในการประกอบการค้า หรือประกอบกิจการอื่น ๆเพื่อหารายได้ หรือโฆษณาการค้า หรือกิจการอื่นเพื่อหารายได้ ไม่ว่าจะแสดงหรือโฆษณาไว้ที่วัตถุใด ๆ ด้วยอักษร ภาพหรือเครื่องหมายที่เขียน แกะสลัก จารึก หรือทำให้ปรากฏด้วยวิธีอื่น ขณะเดียวกันป้ายบางประเภทก็ได้รับการคุ้มครองให้ยกเว้นจากการเสียภาษี ซึ่งสามารถตรวจเช็คได้ที่เว็บไซต์ของกรมสรรพากร www.rd.go.th ขั้นตอนการยื่นเสียภาษีป้าย1. ตรวจสอบความปลอดภัยของการติดตั้งป้าย […]
Category Archives: ข่าวสารป้ายโฆษณา
หลังจากซึมเซามาพักใหญ่วันนี้ตลาดโฆษณาถูก威而鋼 ประเมินว่าจะคึกคักขึ้นในปีหน้าแรงหนุนสำคัญคือเม็ดเงินซื้อโฆษณาที่เพิ่มขึ้นในแพลตฟอร์มออนไลน์อย่าง Google, Facebook และ Amazon คาดว่าการลงทุนโฆษณาทั่วโลกจะเพิ่มขึ้น 6% เป็น 6.56 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2020 อย่างไรก็ตาม บริษัทวิจัยตลาด WARC ประเมินว่าการที่ยักษ์ใหญ่ออนไลน์สามารถดูดเงินโฆษณาได้เพิ่มขึ้น ไม่ได้แปลว่าทุกอย่างจะฟื้นตัว เพราะอาจมีปัจจัยอื่นทำให้เกิดภาวะถดถอยในวงการโฆษณาทั่วโลกได้เช่นกัน James McDonald ผู้จัดการฝ่ายบรรณาธิการของ WARC Data อธิบายในแถลงการณ์ว่าดัชนีเศรษฐกิจมหภาคที่อ่อนแอ ความเชื่อมั่นทางธุรกิจที่ลดลง และความตึงเครียดทางการเมืองที่เพิ่มสูงขึ้น ล้วนเป็น 3 สาเหตุหลักที่อาจทำให้วงการโฆษณาโลกหงอยเหงาก็ได้ในปี 2020 โตเบาๆ 6% ภายในสภาวะแวดล้อมเช่นนี้ WARC คาดว่าการเติบโตของการลงทุนด้านโฆษณาทั่วโลกจะเพิ่มขึ้น 6% โดยการโฆษณาบนอินเทอร์เน็ตจะคิดเป็นสัดส่วนกว่าครึ่งหนึ่งของการลงทุนด้านโฆษณาทั่วโลกเป็นครั้งแรกในปีหน้า อัตราเติบโต 6% นี้สอดคล้องกับตัวเลขคาดการณ์ของกองทุนการเงินระหว่างประเทศทั้ง IMF และ Euromonitor ซึ่งมองว่า GDP และการใช้จ่ายของผู้บริโภคจะเติบโตทั่วโลกที่ 6% เช่นกัน ตัวเลขนี้ถือเป็นการเติบโตที่โดดเด่นกว่าปีนี้ที่เติบโตเพียง 2.5% แต่ลดลงจาก 7.3% ที่ WARC เคยประเมินไว้เมื่อปีที่แล้ว แพลตฟอร์มออนไลน์ที่จะดูดเม็ดเงินโฆษณาได้มากที่สุดคือโซเชียลมีเดีย บริการค้นหา และบริการวิดีโอออนไลน์ นั่นคือ Facebook, Google และ YouTube จะกินรวบเม็ดเงินโฆษณาต่อเนื่องถึงปีหน้า ขณะเดียวกัน Amazon ก็เริ่มได้รับความนิยมจากผู้โฆษณามากขึ้น โดย Amazon สามารถชิงส่วนแบ่งโฆษณาโลกได้เพิ่มขึ้นเป็น 2.5% สัดส่วน Top 3 ตลาดโฆษณาโลกในปี 2020 พบว่าอันดับ 1 ยังคงเป็นสื่อทีวีที่จะชิงเค้กไปได้ 29.9% รองลงมาคือ Alphabet ซึ่งมีสื่อในเครือเช่น Google และ YouTube อีก 23.1% อันดับ 3 คือ Facebook ที่คาดว่าจะฮุบเม็ดเงิน 12.9% ของตลาดรวมได้สำเร็จ ทั้งหมดนี้ใหญ่กว่า Amazon ที่คาดว่ามีส่วนแบ่งโฆษณาโลก 2.5% ในปี 2020 ส่วนอื่นหดต่อไป WARC ย้ำว่านอกจาก Top 3 แพลตฟอร์มโฆษณายักษ์ การลงทุนของนักโฆษณาในสื่ออื่นจะยังคงที่หรือลดลง ซึ่งเป็นภาวะที่เกิดขึ้นต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2012 หรือ 7 ปีที่ผ่านมา หากมองในมุมของสินค้าและบริการ การศึกษาพบว่าแบรนด์ทั้ง 19 หมวดหมู่ล้วนมีแนวโน้มซื้อโฆษณามากขึ้นในปีหน้า ในกลุ่มนี้ 8 หมวดหมู่หลักที่จะเพิ่มการลงทุนด้านโฆษณาเป็นพิเศษ คือบริการด้านการเงิน บริการสำหรับครัวเรือนและพื้นที่ในประเทศ บริการขนส่งและการท่องเที่ยว บริการโทรคมนาคม เทคโนโลยีสาธารณูปโภค และอิเล็กทรอนิกส์ แบรนด์เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ค่ายยานยนต์ และแบรนด์น้ำอัดลม ในขณะที่ภาคบริการด้านการเงินที่มีแนวโน้มซื้อโฆษณาเพิ่มขึ้นมากที่สุด การสำรวจกลับพบว่าภาคการค้าปลีกจะเห็นการใช้จ่ายโฆษณาที่เติบโตช้าที่สุด เห็นได้ชัดจากแบรนด์ใหญ่อย่าง Adidas หรือ Procter & Gamble ที่ยอมรับว่าได้ลงทุนโฆษณาดิจิทัลมากเกินไป และหลังจากนี้จะหันมาใช้ดาต้าและข้อมูลอื่นมาจำลองและวิเคราห์เพื่อเลือกหนทางโฆษณาสำหรับขับเคลื่อนยอดขายที่รอบคอบกว่าเดิม สิ่งที่เห็นชัดจากตัวเลขเหล่านี้คือภาพรวมการใช้จ่ายโฆษณาที่แตกต่างจากช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ย้อนไปเมื่อปี 2010 ราว 34.1% ของเม็ดเงินโฆษณาถูกดึงไปที่ทีวี ขณะที่ 34.9% ไหลไปที่หนังสือพิมพ์ เวลานั้นบริษัทอย่าง Alphabet มีสัดส่วนโฆษณาโลกเพียง 6.2% และ Facebook คิดเป็นสัดส่วนจิ๋ว 0.4% เท่านั้น ทิ้งห่างธุรกิจโฆษณาของ Amazon ที่ดึงเงินโฆษณาได้น้อยกว่า 0.1%. ขอขอบคุณแหล่งข้อมูล : positioningmag
ผ่านมาถึง 5 เดือนเต็ม แต่เม็ดเงินโฆษณายังคงติดลบต่อเนื่อง จากการเปิดเผยของนีลเส็น พบว่าเดือน พ.ค. 2562 ใช้งบโฆษณารวม 8,789 ล้านบาท ทีวียังครองเม็ดเงิน 60% ด้วยงบ 5,728 ล้านบาท ตามด้วย สื่อในโรงภาพยนตร์ 664 ล้านบาท สื่อนอกบ้าน565 ล้านบาท สื่อบนรถประจำทาง 483 ล้านบาท หนังสือพิมพ์ 475 ล้านบาท วิทยุ 354 ล้านบาท เคเบิลทีวี/ดาวเทียม200 ล้านบาท สื่อดิจิทัล 146 ล้านบาท สื่อในห้าง 93 ล้านบาท นิตยสาร 81 ล้านบาท เดือน พ.ค. โฮมช้อปปิ้งยังคงครองอันดับการใช้งบโฆษณาสูงสุด เพื่อต้องการแจ้งเกิดโดยเร็ว น้องใหม่อย่างSanook Shopping Direct Sales จึงอัดงบแซงหน้า TV Direct ไปแบบฉิวเฉียด ด้วยงบโฆษณา 102 ล้านบาท ส่วนทีวีไดเร็คใช้ไป 99 ล้านบาท ห่างกันแค่ 2 ล้านบาท อันดับ 3 เครื่องดื่มโค้ก 96 ล้านบาท อันดับ 4 ธนาคารออมสิน 95 ล้านบาท อันดับ 5 นมผง s-26 รายนี้มาแรง อัดโฆษณาแทบทุกช่วง ใช้งบไป 86 ล้านบาท อันดับ 6 O-Shopping 83 ล้านบาท อันดับ 7 น้ำยาปรับผ้านุ่ม ดาวน์นี่ อันดับ 8 Direct Sale Unknow 73 ล้านบาท อันดับ 9 เนสกาแฟ พร้อมดื่ม 73 ล้านบาท อันดับ 10 โทรศัพท์มือถือซัมซุง บริษัท ยูนีลีเวอร์ (ไทย) ยังคงครองอันดับ 1 แต่การใช้งบโฆษณาลดลง 323 ล้านบาท อันดับ 2 บริษัท พรอคเตอร์ แอนด์ แกมเบิล (ประเทศไทย) 215 ล้านบาท อันดับ 3 Unknow Advertising Direct Sale 186 ล้านบาท อันดับ 4 บริษัท เนทสเล่ (ไทย) 146 ล้านบาท อันดับ 5 บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย 145 ล้านบาท (ใช้ลดลง) อันดับ 6 บริษัท ลอรีอัล ประเทศไทย จำกัด 125 ล้านบาท อันดับ 7 บริษัท โคคา–โคลา(ประเทศไทย) 124 ล้านบาท อันดับ 8 บริษัท เป๊ปซี–โคล่า (ไทย) เทรดดิ้ง 109 ล้านบาท อันดับ 9 GMM Grammy 105 ล้านบาทอันดับ 10 บริษัท ตรี เพ็ชร อีซูซุ เซลส์ 104 ล้านบาท ทั้งนี้ นีลเส็นแจ้งว่า ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2562 เป็นต้นไป ได้เปลี่ยนวิธีการเก็บข้อมูลในสื่อ Internet จากการเก็บในรูปแบบ manual ทีใช้พนักงานเก็บข้อมูลจำนวน 50 website +10 mobile web มาเป็นการใช้เทคโนโลยี Crawler เพื่อจัดเก็บข้อมูลโฆษณาบนเว็บไซต์ จำนวนทั้งหมด 200 เว็บไซต์ซึ่งจะใช้ชื่อสื่อใหมนี้ว่า ‘Digital’ ซึ่งเป็นสื่อในรูปแบบ Text, Flash, HTML5, Image, Skin, Video และ inbanner video ทั้งโฆษณาจาก Direct, Indirect programmatic และนำมาคำนวณตาม Rate card กลาง จากวิธีการคำนวณของทีมนีลเส็น Global. หมายเหตุสำคัญ สื่อกลางแจ้ง (outdoor) และสื่อเคลื่อนที่ (transit):มีการรวมข้อมูลจาก JCDecaux สำหรับข้อมูลจากสื่อในสนามบินตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ ปี 2560 และข้อมูลของสื่อ outdoor และ transit จาก JCDecaux ได้ถูกรวมเข้าไว้ในรายงานตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2560 นีลเส็นได้มีการเพิ่มพื้นที่การเก็บข้อมูลสื่อกลางแจ้ง (outdoor) เช่น สื่อเคลื่อนที่ (transit),ป้ายบิลบอร์ด, ป้ายโฆษณาบนทางเท้า, สื่อในสนามบิน และอื่นๆ ตั้งแต่เดือนมกราคม ปี 2559 เป็นต้นมา อินเทอร์เน็ต – ตั้งแต่เดือนมกราคม ปี 2559 นีลเส็นได้มีการขยายการเก็บข้อมูลโมษณาผ่านสื่ออินเทอร์เน็ตโดยครอบคลุม 50 เว็บไซต์ยอดนิยม และ 10 เว็บไซต์ยอดนิยมบนมือถือ สำหรับภาพรวมการใช้งบโฆษณาผ่านสื่ออินเทอร์เน็ตทั้งหมดกรุณาอ้างอิงข้อมูลจาก DAAT สื่อในห้าง – นีลเส็นได้มีการเพิ่มข้อมูล สื่อวิทยุในห้าง Big C และ 7 Eleven เข้ามาในฐานข้อมูล ตั้งแต่เดือนมกราคม 2559 ทั้งนี้ ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2558 ข้อมูลของสื่อในห้าง Tesco Lotus และ Big C ไม่ได้รวมอยู่ในฐานข้อมูลของนีลเส็น ตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2559 เป็นต้นมา ได้มีการเพิ่มสื่อที่บริหารจัดการโดยบริษัท Plan […]
คงไม่ใช่เรื่องที่เหนือความคาดหมายสำหรับการเติบโตของอุตสาหกรรมโฆษณาบนสื่อ “ดิจิทัล” เพราะสื่อดังกล่าวกลายเป็น New Normal หรือสิ่งปกติในวงการสื่อไปแล้ว เมื่อผู้บริโภครุ่นใหม่ ใช้สื่อดังกล่าวเป็นกิจวัตร ส่วนคนรุ่นเก่าก็เริ่มเรียนรู้และใช้งานเสพสื่อดิจิทัลมากขึ้น สมาคมโฆษณาดิจิทัล (ประเทศไทย) หรือ DAAT และกันตาร์ ประเทศไทย รายงานการใช้จ่ายเม็ดเงินโฆษณาบนสื่อดิจิทัลปี 2561 ปิดตัวเลขที่ 16,928 ล้านบาท เติบโต 36% สูงกว่าที่คาดการณ์ไว้เดิมจะเติบโต 21% โดยการเติบโตยังติดต่อกันยาวนาน 8 ปีต่อเนื่อง ส่วนสาเหตุที่โฆษณาบนดิจิทัลโตกว่าคาดการณ์ในปีก่อน พัชรี เพิ่มวงษ์อัศวะ กรรมการ สมาคมโฆษณาดิจิทัล (ประเทศไทย) บอกว่า ตัวแปรที่มีผลต่อการใช้เม็ดเงิน เพราะพฤติกรรมผู้บริโภคใช้สื่อดิจิทัลกันมาก โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ “นักการตลาด เอเยนซี่ แบรนด์สินค้าปรับตัวโยกงบมาใช้สื่อออนไลน์มากขึ้น ทำการตลาดผสมผสานระหว่างสื่อเก่าและสื่อใหม่ ขณะที่การใช้เงินบนสื่อดิจิทัล ยังวัดผลความคุ้มค่าในการใช้จ่ายได้มากขึ้นด้วย” ขณะที่แบรนด์ครองแชมป์ใช้จ่ายเงินโฆษณาผ่านสื่อดิจิทัลมากสุด ได้แก่ กลุ่มยานยนต์มูลค่า 2,361 ล้านบาท การสื่อสาร 1,925 ล้านบาท ผลิตภัณฑ์ดูแลผิวพรรณ(สกินแคร์) 1,454 ล้านบาท เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮล์ 1,148ล้านบาท และธุรกิจธนาคาร 1,080 ล้านบาท ที่น่าสนใจคือกลุ่มเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ขยับมาเป็นอันดับ 4 แซงแบงก์ในการเทเงินซื้อสื่อโฆษณาดิจิทัลเนื่องจากมีการออกสินค้าใหม่กันคึกคักรับฤดูกาลขายและเทศกาลต่างๆ มีการปรับแพ็คเกจจิ้งใหม่ๆ รวมถึงค่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่หันมาบุกตลาดเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์มากขึ้น นอกจากนี้ ยังพบกลุ่มธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ และธุรกิจค้าปลีกที่ทุ่มทุนซื้อโฆษณาดิจิทัลเพิ่มเป็น “เท่าตัว” ส่วนผลิตภัณฑ์นม(Dairy)กลับใช้จ่ายลดลง เพราะสินค้ากลุ่มนี้หันไปทำ Trade Promotion และกิจกรรม ณ จุดขาย เพื่อกระตุ้นยอดขายแทน ราชศักดิ์ อัศวศุภชัยกรรมการ […]